ReadyPlanet.com
dot
dot
ฟาร์มเห็ดที่เป็นสมาชิกสมาคม
dot
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
dot
ราคาเห็ดอ้างอิง
dot


ปริมาณวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตเห็ดกระด้างที่เพาะในถุงพลาสติก

 

ปริมาณวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตเห็ดกระด้างที่เพาะในถุงพลาสติก
 Suitable Amount of Substrate for Producing Lentinus polychrous Lev. in Plastic Bag
อัจฉรา พยัพพานนท์   พิมพ์กานต์ อร่ามพงษ์พันธ์ และสมพงษ์ อังโขรัมย์
กรมวิชาการเกษตร
…………………………………..
บทคัดย่อ
เห็ดกระด้างหรือเห็ดบดเป็นเห็ดเมืองร้อน เจริญเป็นดอกได้ดีในอาหารขี้เลื่อย การเพาะเห็ดกระด้างให้ได้ผลตอบแทนสูง แนวทางหนึ่งคือปริมาณวัสดุหรือขนาดของก้อนอาหารที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิต จึงดำเนินการทดลองเพาะเห็ดกระด้างในขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมฟางข้าวสับ 20 เปอร์เซ็นต์ และอาหารเสริมที่บรรจุในถุงพลาสติกในปริมาณ 5 อัตรา คือ 300, 500, 700, 900 และ 1,100 กรัม/ถุง ผลการทดลองพบว่าช่วงเดือนพฤศจิกายน 2547-กรกฎาคม 2548   ปริมาณวัสดุเพาะทุกอัตราเส้นใยเจริญเต็มอาหารเพาะเลี้ยง 27.6, 35.6, 48, 56.4 และ 56.4 วัน   ปริมาณวัสดุเพาะ 1,100 กรัม/ถุง ให้ผลผลิตสูงสุดคือ 77.574 กรัม/ถุง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปริมาณ วัสดุเพาะ 300, 500, 700 และ 900 กรัม/ถุง ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 41.64, 60.07, 57.43 และ 61.47 กรัม/ถุง ตามลำดับ และพบว่าเปอร์เซนต์ผลผลิตเฉลี่ยดอกเห็ดสดต่อน้ำหนักแห้งวัสดุเพาะ (%B.E.) จากน้ำหนักวัสดุเพาะ 300 กรัม ให้ผลผลิตดีที่สุดคือ 30.84% B.E. แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับเปอร์เซนต์ผลผลิตเฉลี่ยที่ได้จากน้ำหนักวัสดุเพาะ 500, 700, 900 และ 1,100 กรัม/ถุง ซึ่งให้ผลผลิต 26.69, 18.23, 15.21 และ 15.67 เปอร์เซ็นต์โดยลำดับ
                ขนาดความกว้างของหมวกดอกและความยาวของก้านดอกที่เพาะด้วยวัสดุเพาะน้ำหนัก 1,100 กรัม        มีขนาดกว้างและยาวกว่าและได้ดอกเห็ดจำนวน 17.86 และ16.42 ดอก/ถุง เมื่อเพาะด้วยวัสดุ 1,100 และ 500 กรัม ซึ่งสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับที่ได้จากการเพาะด้วยวัสดุปริมาณ 300, 700 และ 900 กรัม/ถุง การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในก้อนเชื้อเห็ดพบว่าขนาดถุง 300 กรัม ปนเปื้อนเพียง 0.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนก้อนเชื้อขนาด 500-1,100 กรัมมีการปนเปื้อน 1.2-1.8 เปอร์เซ็นต์
            ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2548 ขนาดวัสดุเพาะ 300, 500, 700, 900 และ 1,100 กรัม/ถุง เส้นใยเจริญเต็มอาหารเพาะ 19, 25, 29,34 และ 34.4 วัน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 81.76, 89.34, 91.64, 85.14 และ 84.22 กรัม/ถุง  ค่า B.E. ได้ 69.56, 39.71, 29.89, 21.02 และ 17.01% โดยลำดับอย่างมีความต่างทางสถิติ  ขนาดของดอกไม่มีความต่างกัน ได้จำนวนดอก 18.24 และ 17.28 ดอก/ถุง เมื่อเพาะด้วยวัสดุปริมาณ 700 และ 500 กรัม/ถุง มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเพาะด้วยวัสดุปริมาณอื่นๆ การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในก้อนเชื้อเห็ด พบว่าขนาดถุง 700, 300 กรัม ปนเปื้อน 6.39-8.15% ส่วนขนาด 500, 900 และ 1,100 กรัม ปนเปื้อน 1.5, 1.37 และ 1.05% โดยลำดับ
 


 

รหัส 03-01-47-2101-01
 
 
ตารางที่7 เปรียบเทียบผลผลิตเฉลี่ยดอกเห็ดกระด้างสดต่อน้ำหนักแห้งวัสดุเพาะ (%B.E.) เมื่อเพาะด้วยวัสดุในถุงขนาดน้ำหนักต่างๆ และในช่วงเวลาทีต่างกัน
 

ขนาดถุง (กรัม)
ผลผลิตเฉลี่ยดอกเห็ดกระด้างสดต่อน้ำหนักแห้งวัสดุเพาะ (%B.E.)
เมษายน-กรกฎาคม 2547
เมษายน-กรกฎาคม 2548
กรกฎาคม กันยายน 2548
300
26.94    a
30.844    a
69.56    a
500
19.34    b
26.698    b
39.71    b
700
16.56    c
18.234    c
29.89    c
900
14.76    c
15.212    c
21.01    c
1100
10.92    c
15.67   c
17.01   c
CV (%)
9
12
6

 
ตารางที่ 8 จำนวนครั้งต่อการออกดอก ของเห็ดกระด้างที่เพาะในถุงพลาสติกขนาดน้ำหนักต่างๆ 
 

น้ำหนักถุง (กรัม)
จำนวนครั้ง
รวม
 
0
1
2
3
4
5
6
 
300    Count
5
2
25
39
61
16
2
150
       (%) within treatment
3.3%
1.3%
16.7%
26.0%
40.7%
10.7%
1.3%
100.0%
500    Count
0
3
11
50
64
19
3
150
        (%) within treatment
0%
2.0%
7.3%
33.3%
42.7%
12.7%
2.0%
100.0%
700    Count
0
1
18
53
63
14
1
150
        (%) within treatment
0%
7%
12.0%
35.3%
42.0%
9.3%
7%
100.0%
900     Count
2
7
27
58
42
13
1
150
       (%) within treatment
1.3%
4.7%
18.0%
38.7%
28.0%
8.7%
7%
100.0%
1,100  Count
0
1
11
49
60
23
6
150
        (%) within treatment
0%
7%
7.3%
32.7%
40.0%
15.3%
4.0%
100.0%
รวม     Count
7
14
92
249
290
85
13
750
        (%) within treatment
9%
1.9%
12.3%
33.2%
38.7%
11.3%
1.7%
100.0%

 
ค่า c2 = 55.018 ค่า   Asymp. Sig = 0.000 แสดงว่า ปริมาณวัสดุเพาะในถุงพลาสติกขนาดต่างๆ มีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งในการเกิดดอกเห็ดกระด้าง



เทคนิคและเทคโนโลยีการผลิตเห็ด

การเพาะเห็ดนางรมหัว
การเพาะเห็ดตับเต่าดำ
การพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ Coprinus comatus (O.F.Müll.) Gray
การผลิตเห็ดภูฏาน
การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายและการเกิดของเห็ดโคน ในสวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
การวางแผนจัดตั้งฟาร์มเห็ด โดย ดร.สัญชัย ตันตยาภรณ์ ที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
  ตู้ ปณ.1094 ปทฝ เกษตรศาสตร์  กรุงเทพ   10903
โทรศัพท์ : 025611473 025790147; แฟกซ์ : 025790147 025795581      
อีเมล : Mushthai@hotmail.com
เว็บไซต์ : WWW.Thaimushroomsoc.com