ReadyPlanet.com
dot
dot
ฟาร์มเห็ดที่เป็นสมาชิกสมาคม
dot
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
dot
ราคาเห็ดอ้างอิง
dot


การเพาะเห็ดตับเต่าดำ

 

การเพาะเห็ดตับเต่าดำ
                                                  นางสาวนันทินี ศรีจุมปา       นายไว อินต๊ะแก้ว        นายบัณฑิต จันทร์งาม                                                                                              ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย
 
                  ศึกษาการเพาะเห็ดตับเต่าดำ (เห็ดห้า หรือเห็ดผึ้ง) ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย โดยเก็บตัวอย่างเห็ดตับเต่าที่ขึ้นตามธรรมชาติภายใต้ต้นมะกอกน้ำ กระท้อน หว้าและส้มโอ นำมาแยกเชื้อบริสุทธิ์บนอาหาร PDA ได้ทั้งหมด 47 ตัวอย่าง มีตัวอย่างจากใต้ต้นมะกอกน้ำมากที่สุด จากการศึกษาลักษณะดอกเห็ดและวัดขนาดสปอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสปอร์รี ขนาด 5.36 – 10.72 x 5.36 – 8.04 ไมครอน เนื้อเห็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อตัด และกลุ่มสปอร์กลมขนาด 5.36 ไมครอน เนื้อเห็ดไม่เปลี่ยนสีเมื่อตัด ดอกเห็ดตับเต่าที่พบแต่ละพื้นที่ หรือแม้แต่พื้นที่เดียวกันแต่คนละดอก  มีความแตกต่างกันในแง่การเจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ทำการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดตับเต่าบริสุทธิ์บนอาหาร PDA และ MMN พบว่าทุกตัวอย่าง เจริญได้ดีกว่าบนอาหาร MMN ในการทดสอบการอยู่ร่วมกันระหว่างรากพืชอาศัยกับเชื้อเห็ดตับเต่าบางตัวอย่าง  พบว่าเชื้อเห็ดตับเต่ามีการอยู่ร่วมกันกับรากมะเกี๋ยงป่าได้ดี และยังพบดอกเห็ดตับเต่าขนาดเล็กพัฒนาขึ้นในหลอดทดลองด้วย นอกจากนี้เชื้อเห็ดบางตัวอย่างยังพัฒนาเป็นดอกเห็ดขนาดเล็กบนอาหาร PDA หลังจากที่เลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน          ทำการขยายเชื้อเห็ดตับเต่าตัวอย่างที่เจริญดีที่สุดลงเมล็ดข้าวฟ่างที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วและใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับปลูกลงบนพืชอาศัย พบว่าการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าด้วยหัวเชื้อที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่าง(ขยี้เมล็ดข้าวฟ่างที่มีเส้นใยของเชื้อเห็ดเจริญอยู่ในน้ำสะอาด 1 ขวดใช้น้ำประมาณ 6 ลิตร) นำไปราดบริเวณรอบชายพุ่มของต้นมะกอกน้ำที่มีอายุประมาณ 6 ปี โดยก่อนราดเชื้อใช้จอบขุดโดยรอบชายพุ่มที่ระดับความลึกระดับรากฝอย  จะพบดอกเห็ดตับเต่าหลังจากการปลูกเชื้อไป 3 ปี เนื่องจากเชื้อเห็ดต้องใช้เวลาในการเพิ่มปริมาณบริเวณรากพืช ทดลองกระตุ้นการเกิดดอกเห็ดตับเต่านอกฤดูในแปลงมะกอกน้ำโดยการให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์วันละ 2 ชั่วโมงติดกัน 3 วัน และหยุดไป 5 วัน หลังจากนั้นให้น้ำอีกสัปดาห์ละครั้ง พบว่าหลังจากให้น้ำประมาณ 2 สัปดาห์ จะพบดอกเห็ดตับเต่าขึ้นบริเวณใต้ทรงพุ่มของต้นมะกอกน้ำ

 




เทคนิคและเทคโนโลยีการผลิตเห็ด

การเพาะเห็ดนางรมหัว
การพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ Coprinus comatus (O.F.Müll.) Gray
ปริมาณวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตเห็ดกระด้างที่เพาะในถุงพลาสติก
การผลิตเห็ดภูฏาน
การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายและการเกิดของเห็ดโคน ในสวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
การวางแผนจัดตั้งฟาร์มเห็ด โดย ดร.สัญชัย ตันตยาภรณ์ ที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
  ตู้ ปณ.1094 ปทฝ เกษตรศาสตร์  กรุงเทพ   10903
โทรศัพท์ : 025611473 025790147; แฟกซ์ : 025790147 025795581      
อีเมล : Mushthai@hotmail.com
เว็บไซต์ : WWW.Thaimushroomsoc.com