ReadyPlanet.com
dot
dot
ฟาร์มเห็ดที่เป็นสมาชิกสมาคม
dot
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
dot
ราคาเห็ดอ้างอิง
dot


ข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับการเพาะเห็ด

 เรียนทุกท่านที่รักและเคารพ

 

เห็ดเป็นอาหารที่มีความปลอดภัยสูงมากเกือบที่สุด และไม่น่ากลัวอย่างที่สังคมonlineรับรู้ตอนนี้

ผมเห็นข้อความที่ส่งต่อกันทาง lineเกี่ยวกับการใช้ยาฆ่าแมลงในเห็ด ก็กังวลใจเนื่องจากข้อมูลไม่ถูกต้อง

 

 

เมืองไทยเราผลิตเห็ด3รูปแบบคือ

1.เห็ดตระกูลญี่ปุ่น เช่นเห็ดเข็มทอง  เห็ดเออริงกิ เห็ดชิเมจิ  จะผลิตในขวดพลาสติคและอยู่ในโรงเรือนแบบปิด ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมทุกชนิด

2. เห็ดฟาง ที่อยู่บนกองฟางบนดิน หรือฟางที่อยู่เป็นชั้นๆในโรงเรือนกึ่งปิด

3.แบบเป็นถุงพลาสติค แล้วเพาะบ่ม  ออกดอกในโรงเรือนไม่ปิดสนิท เช่น มุงจาก อาจปิดข้างด้วยซาแรน รูปแบบนี้เป็นที่นิยมในการผลิตเห็ดนางฟ้า นางรม เป๋าฮื้อ หูหนู

 

 

อยากขออธิบายเป็นข้อๆนะครับ

1.การที่ว่า ต้องใช้ยาฆ่าหนอนหรือยาฆ่าแมลง จำนวนมากๆเพื่อจะได้ผลผลิตดี        ข้อความนี้ ไม่ถูกต้องแน่ครับรับรอง!

ผมเคยได้ยินมาว่ามีการใช้สารเคมีในการเพาะเห็ด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ทำมานาน ทำปริมาณมาก  ไม่มีการพักทำความสะอาดโรงเรือนและมีการหมักหมมของสิ่งต่างๆ เรียกง่ายๆว่าสกปรกไม่ถูกสุขลักษณะประจำฟาร์ม

อากาศถ่ายเทไม่ดี  ก้อนเห็ดและวัสดุเพาะตกตามพื้น หรือก้อนเห็ดแฉะเกินไป จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำพาซึ่งศัตรูตัวสำคัญคือ ตัวไร(หลายชนิด)  แมลงหวี่ (ทั้ง2 ตัวนี้เขาชอบก้อนเก่าๆมากทีเดียว)

 

การแก้ไขแบบผิดๆไม่ถูกวิธีคือการใช้สารเคมี ซึ่งในทางปฏิบัติ ได้ผลในการรักษาน้อยมาก หรือถ้าได้ก็ไม่คุ้ม

 

2 วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันและยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง อย่างที่พูดถึงเลย    โดย

1.       ใช้ก้อนที่ผลิตมาจากแหล่งที่รับรองได้  น่าเชื่อถือ ประวัติดี สะอาด ไม่ปนเปื้อน

2.       ใช้แม่เชื้อที่บริสุทธิ์ ปลอดจากตัวไร และเชื่อราที่ไม่ต้องการอื่นๆ

3.       ทำโรงเรือนให้สะอาดอยู่เสมอ  อากาศถ่ายเทได้ดีตลอด

4.       ใช้จุลินทรีย์ที่ได้ผลและปลอดภัย bacillus spp. หลายชนิดเช่น บีที  พลายแก้ว  ไมโตฟากัส หมักแล้วฉีดพ่นป้องกันเป็นประจำ ทั่วบริเวณก้อนและทั้งในและนอกโรงเรือนให้ทั่ว ปัญหาจะไม่เกิด

5.       ไม่ให้วัสดุเพาะตกลงพื้น ก้อนที่เก่าหรือเสียหายก็ต้องเอาออกไปทำลาย อย่าให้อยู่ในโรงเพาะ เพราะเป็นต้นเหตุของปัญหา อย่าเสียดาย!

6.       ต้องพักโรงเรือน ทำความสะอาด เป็นประจำ ระหว่างรุ่น   อย่าโลภมากเกินไป!

 

3. ส่วนการเพาะเห็ดเข็มทอง

โรงงานผลิตต้องควบคุม อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง การถ่ายเทอากาศ อย่างดีเยี่ยม บางที่สะอาดเหมือนโรงพยายาลเลย

****ที่บอกว่าการเพาะเห็ดเข็มทอง ต้องใช้สารเคมีมากจึงเป็นไปไม่ได้***

 

4. ทุกวันนี้จะพบว่ามะเร็งเป็นโรคที่พบมากที่สุด แน่นอนมาจากสิ่งแวดล้อมที่ผิดปกติไป

หลายท่านไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แต่ก็เป็นมะเร็งตับ   เป็นมะเร็งปอด หรือแม้แต่มะเร็งเต้านม ก็สันนิษฐานว่าไม่น่ามาจากเห็ดแน่ครับ

คนทำงานออฟฟิตในห้องแอร์ก็ล้มป่วยได้เช่นกัน  การบอกว่าคนงานโรงเพาะเห็ดสุขภาพไม่ดี

ช่วยตรวจว่าโรงเรือนอับไหม สกปรกขนาดไหน การถ่ายเทอากาศเป็นอย่างไร

ในแง่วิทยาศาสตร์ โอกาสที่เป็นมะเร็งในกระแสเลือด จากการขายส่งเห็ด แทบจะหาไม่ได้เลยครับ

 

5. รู้แล้วเสียใจมากที่คุณมนัส ไม่ให้ครอบครัวทานเห็ด เพราะพลาดอาหารวิเศษไป

การที่คุณมนัสที่เป็นผู้จำหน่ายเห็ดและก็ไม่ได้เป็นผู้เพาะเห็ด ถ้ามีสารเคมีจริง ผมคิดว่าคุณมนัสไม่มีโอกาสสัมผัสสารเคมีเนื่องจากดอกเห็ดจะขายเป็นแพคและอยู่ในถุง

ดังนั้นโอกาสที่จะได้รับสารเคมีที่มาจากเห็ดจึงไม่มีเสียเลย  ผมไม่ทราบว่าคุณมนัสดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำหรือไม่

เรื่องที่ต้องมาเป็นมะเร็ง ก็ต้องขอแสดงความเสียใจด้วย  แต่ไม่ใช่สาเหตุมาจากการขายเห็ดเป็นแน่แท้!!!!

 

 

6.สำหรับผู้บริโภคและผู้รักเห็ดทุกท่าน

แน่นอนครับสังคมเรามีทั้งคนดีและไม่ดี  บางคนเป็นคนดี แต่ไม่มีความรู้ที่ถูกวิธีจึงหาทางออกแบบผิดๆ

ผมขอแนะนำ

เลือกหาซื้อเห็ดจากแหล่งที่ท่านไว้ใจได้ และ หรือ ได้รับการรับรอง  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Q gap    มาตรฐานGAP จากกรมวิชาการเกษตรว่าถูกต้องเหมาะสมจริง

 

ในทางวิทยาศาสตร์ ผมได้อธิบายตามความรู้ที่พอมีอยู่   แต่ผมก็เชื่อว่า   เวรกรรมมีจริงครับ

 

ผมกินเห็ดแทบทุกวัน ด้วยความมั่นใจครับ

ดร. กิตติ วิทูรวิทย์ลักษณ์

อุปนายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย

อดีต อุปนายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย

29 มีนาคม 2559




ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ฝึกอบรมหลักสูตรเคล็ดลับการเพาะเห็ดถุง article
เสวนาเห็ดป่ารสชาดดี ที่เสี่ยงต่อเห็ดพิษ
สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธ์พืช
กิจกรรมหารือ เรื่อง ปัญหาหัวเชื้อ และเส้นใยของเห็ดสกุลนางรม
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563-2564
อบรมการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ
สารจากนายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
"เห็ดเผาะ"เป็นเห็ดนรกจริงหรือ
แล้งมาเห็ดน้อย ฝนมาเห็ดล้น
อันตรายถึงชีวิต กินเห็ดป่า



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
  ตู้ ปณ.1094 ปทฝ เกษตรศาสตร์  กรุงเทพ   10903
โทรศัพท์ : 025611473 025790147; แฟกซ์ : 025790147 025795581      
อีเมล : Mushthai@hotmail.com
เว็บไซต์ : WWW.Thaimushroomsoc.com